>>> ปลาน้ำจืด <<<

โดย : นางสาวนงเยาว์ มูนจันทา

วิถีการตลาดของปลานิล

ลักษณะและการจำหน่ายผลผลิตปลานิล

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จะมีการจำหน่ายผลผลิตในหลายลักษณะ  ได้แก่  ขายปลีกแก่พ่อค้าต่างๆ  ที่เข้ามารับซื้อจากฟาร์มซึ่งมีทั้งพ่อค้าขายปลีกในตลาดหรือพ่อค้ารวบรวมในพื้นที่และจากต่างท้องถิ่นหรือส่งให้องค์การสะพานปลาขายส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะขายแก่พ่อค้าผู้รวบรวม  66-71%  และนำไปขายแก่พ่อค้าขายส่งที่องค์การสะพานปลา 21%  และขายในรูปลักษณะอื่นๆ 3-6 %

ราคาและความเคลื่อนไหว

ราคาและผลผลิตปลานิลแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน  ตลาดในชนบทมีความต้องการปลาขนาดเล็กเพื่อการบริโภค  ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการปลาขนาดใหญ่ ราคาของปลาจึงแตกต่างกัน

ความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาขายส่งเป็นไป  ในลักษณะทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล  ในการขายปลาโดยปกติราคาขายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน  สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 12-15 บาท/กก.  สำหรับราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-25 บาท/กก.  ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกเท่ากับ 8-10 บาท/กก.

ด้านราคาส่งออกนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นสำคัญ  เมื่อประเทศคู่แข่ง  เช่น  ไต้หวัน  อินโดนีเซีย  สามารถผลิตได้มากก็จะทำให้ประเทศไทยส่งขายได้น้อย  เพราะเนื่องจากผลผลิตปลานิลแช่แข็งทั้งในรูปปลาทั้งตัวและปลาทั้งตัวควักไส้มีราคาสู้กับประเทศคู่แข่งไม่ได้

อย่างไรก็ตาม  ราคาปลานิลแล่เฉพาะเนื้อมีราคาอยู่ระหว่าง 75-80 บาท/กก.  และสำหรับปลานิลแช่แข็งทั้งตัวอยู่ระหว่าง 30-35 บาท/กก.

ปัญหาการตลาดปลานิลของเกษตรกร

ตลาดปลานิลพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาและปริมาณการซื้อ  โดยที่พ่อค้าคนกลางจะเข้าไปรับซื้อถึงฟาร์ม  เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถนำผลผลิตออกมาขายที่ตลาด  เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการจับและลำเลียง  อีกทั้งยังไม่มีความรู้ในด้านการตลาด  ปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาที่เกษตรกรพบอยู่เสมอ  คือ

1.ขนาดพันธุ์ปลา ปลานิลเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้สามารถออกลูกตลอดทั้งปีเป็นปลานิลเพศเมียส่วนใหญ่และลูกปลาจึงมีขนาดเล็กและไม่ได้น้ำหนักตามที่ผู้ซื้อต้องการ

2. กลิ่นโคลนของเนื้อปลา  เนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงยังใช้เศษอาหารวัสดุที่เหลือจากการบริโภค หรือเลี้ยงปลาผสมผสาน  ทำให้ปลาแล่เนื้อมีกลิ่นโคลน

3. ปลาที่เกษตรกรจับ ส่วนมากวิดบ่อและปลาตายจำนวนมาก การจับส่งลำเลียงไม่ถูกวิธี  เมื่อนำไปบรรจุจะมีแบคทีเรียสูง  ทำให้เนื้อปลามีสีเขียว

4. เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน  ทำให้เมื่อปลามีขนาดโตพอจำหน่ายได้ เกษตรกรจะรีบขายทันที  ทำให้ราคาต่ำ

ตลาดภายในประเทศ

ปัจจุบันผู้บิโภคภายในประเทศ  เริ่มสนใจที่จะบริโภคปลานิลเพิ่มสูงขึ้น  และกรมประมงมีโครงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล  ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคภายในประเทศไทยรู้ถึงคุณค่าของอาหารโปรตีนจากปลานิลมากขึ้น  โอกาสที่การจำหน่ายภายในประเทศจึงน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามไปด้วย

ผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศ  เป็นรูปสด 89%  ในการแปรรูปทำเค็ม  ตากแห้ง 5%  ย่าง 3%  และที่เหลือในรูปอื่นๆ สำหรับปลานิลทั้งตัว  และในรูปแช่แข็งก็มีจำหน่ายในประเทศโดยผู้ผลิตคือโรงงานและจำหน่ายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหาร

ตลาดต่างประเทศ

เนื่องจากภาวการณ์ติดต่อและการคมนาคมในปัจจุบันทำให้สะดวก  นอกจากนี้ผลต่างของราคาจำหน่ายปลานิลของต่างประเทศยังมีความต้องการปลานิลเพื่อบริโภคสูง ตลาดต่างประเทศมีทั้งตลาดในยุโรปตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียและเอเชีย  โดยปลานิลแช่แข็งที่ส่งออกมีปริมาณไม่มากนัก ในปี2533ประเทศไทยส่งออกปลานิลทั้งในรูปปลานิลแช่แข็งและในรูปแล่เนื้อประมาณ111,174.64กก.เพิ่มขึ้น 179,231.72 กก.  ในปี  2534  หรือคิดเป็นร้อยละ 61.22

ประเทศคู่แข่งปลานิลแช่แข็งที่สำคัญคือ  ไต้หวัน  บังกลาเทศ  ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตปลาที่ได้ขนาด  เมื่อนำมาแล่เนื้อจะมีขนาด 40-60 กรัมและ60-80  กรัมต่อชิ้น  นั้นคือ  ขนาดปลาต้องมีน้ำหนัก 400 กรัม/ตัวขึ้นไปซึ่งการผลิตปลานิลให้มีลักษณะตามต้องการของตลาดต่างประเทศ  จึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนและกรรมวิธีในการผลิตอย่างรอบคอบ

แนวโน้มการเลี้ยงปลานิลในอนาคต

ปลานิลเป็นปลาที่ตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจำนวนประชากรมีอัตราการเจริญเติบโตสูงจึงส่งผลต่อแนวโน้มการเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้มีลู่ทางแจ่มใสต่อไปโดยไม่ต้องกังวลปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาดีไม่มีอุปสรรคเรื่องโรคระบาดเป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันปลานิลสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศในลักษณะของปลาแล่เนื้อ ตลาดที่สำคัญๆอาทิ  ประเทศญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา  อิตาลี  เป็นต้น ดังนั้นการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ  ปราศจากกลิ่นโคลนย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค  การจำหน่ายและการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด

 

credit: http://www.fisheries.go.th/fpo-phangnga/content.php?ID=CT0910-00002

ใส่ความเห็น »

การเพาะพันธุ์ปลานิล

การเพาะพันธุ์ปลานิลในบ่อซีเมนต์

การอนุบาลลูกปลานิลแดงบ่อซีเมนต์

        เพาะพันธุ์ปลานิลในบ่อซีเมนต์ เหมาะสำหรับฟาร์มที่มีเนื้อที่จำกการจัดการง่าย และเก็บรวบรวมลูกปลาได้ง่ายมีข้อเสียคือ ลงทุนสูงขนาดของบ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 50 ตารางเมตร ลึกประมาณ 1เมตร หรืออาจสร้าง ให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ก็ได้ อย่างไรก็ตาม บ่อขนาด 50 ตารางเมตรจะง่ายต่อการจัดการบ่อเพาะควรตั้งอยู่ในที่แจ้ง มีหลังคาคลุมบางส่วนโดยทั่วไปมักใช้วัสดุลดแสงประมาณ 30-50% ขึ้นอยู่ กับทำเลที่ตั้งว่าแสงแดดส่องมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้พบว่าปลานิลสามรถวางไข่ได้ดีในน้ำที่อุณหภูมิระหว่าง 25-29 องศาเซลเซียส และการผสมพันธุ์ วางไข่จะลดลงอย่างมากหากอุนหภมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส การสร้างบ่อเพาะพันธุ์ปลาในร่มจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการข้อนี้ด้วย นอกจากนี้การสร้างบ่อในร่มมักมีปัญหาในเรื่องโรคพยาทมากกว่าบ่อกลางแจ้ง เนื่องจาก อุณหภูมิต่ำและไม่ได้รับแสงอัตราการปล่อยปลานิลสำหรับเพาะพันธ์ 1 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่กับ 1:2-5 หลังจากปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงบ่อ เพาะแล้วประมาณ 20 วัน จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตรหรืออาจเก็บเกี่ยวลูกปลาทุกๆ 10 วัน แล้วย้ายไปอนุบาลในบ่อดิน ในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ต่อไป อีกประมาณ15-20 วันจะได้ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร การเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้ สามารถผลิตลูกปลาได้ประมาณ500-1000 ตัว ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรต่อเดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการพ่อ-แม่พันธุ์คุณภาพของแม่พันธุ์และความถี่ การเก็บรวบรวมลูกปลา

การเพาะพันธุ์ปลานิลในกระชัง

การอนุบาลลูกปลานิลในกระชังในล่อนตาถี่

        นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ขุนแล้วมาเพาะพันธุ์ในกระชังอวนสีฟ้า ขนาด 40 ตารางเมตร(5x8x1.2เมตร) หรือสามารถใช้ ้กระชังขนาดเล็กตามความ เหมาะสมของการปฎิบัติงานได้ ในอัตราเพศเมียต่อเพศผู้ 2:1 อัตราปล่อยทั้งหมด 2.5 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 100 ตัวต่อกระชัง ให้อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่ ในอัตรา 1 % ของน้ำหนักตัวต่อวัน วันละ 1 มื้อ ใช้เวลา 7-10 วันจึงทำการเก็บไข่ การวางไข่ของปลาสามรถสังเกตได้จากการกินอาหารของปลาหากเหลือแสดงว่ามีแม่ปลาอมไข่ไว้ในปากเพิ่มขึ้นซึ่งระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหาร

credit: http://e-learning.snru.ac.th/els/tarika/Untitled-8.html

ใส่ความเห็น »

ปลานิล

ประวัติความเป็นมาของการเลี้ยงปลานิล

      ปลานิล เป็นปลาที่นำมาจากต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508 พระเจ้าจักรพรรดิ อากิฮิโต ซึ่งขณะดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อหาเฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายปลานิลด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

เนื่องจากคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์สืบต่อไป

รูปร่างและลักษณะนิสัย

ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง (อยู่ในตระกูล Cichlidac) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา เนื่องจากปลาชนิดนี้เลี้ยงง่าย สามารถกินพืชและอาหารได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งเศษอาหารต่าง ๆ สามารถแพร่ขยายพันธ์ได้ในสภาวะทั่ว ๆ ไปและเติบโตเร็ว นอกจากนี้ ปลานิลยังเป็นปลาที่มีรสดี สามารถนำมาเป็นอาหารได้หลายอย่าง และมีคนนิยมไปทำตากแห้งแบบปลาสลิดได้ ปัจจุบันปลานิลเป็นปลาที่นิยมบริโภคในหมู่ประชาชนทั่วไป

ปลานิลมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ ลักษณะพิเศษของปลานิลนั้น มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน มีเกล็ด 4 แถวตรงบริเวณแก้ม และจะมีลายพาดขวางลำตัวประมาณ 9 – 10 แถว มีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกัน เป็นฝูงตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย เหมาะสมที่จะน้ำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี

ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลืองขาว – ส้ม ซึ่งเป็นการกลายพันธ์จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธ์ระหว่าง ปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้อง ยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายปลากะพงแดง ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานในต่างประเทศ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า “ปลานิลแดง”

การแพร่ขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต

1. การแพร่ขยายพันธุ์

1 ) ลักษณะเพศ ตามปกติแล้วรูปร่างลักษณะภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตได้โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร ตัวผู้จะมีอวัยวะเพศลักษณะเรียวยื่นออกมา ส่วนตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดของปลาที่ดูลักษณะเพศได้ชัดเจนนั้น ต้องมีขนาดยาวตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ในกรณีที่ปลามีขนาดโตเต็มที่แล้วนั้น อาจจะสังเกตเพศได้ด้วยการดูสีที่ลำตัว เพราะปลาตัวผู้จะมีสีเข้มตรงบริเวณใต้คางและลำตัว ต่างกับปลาตัวเมีย และยิ่งใกล้ฤดูใกล้ผสมพันธุ์ สีก็จะเข้มยิ่งขึ้น

2 ) การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด ในบ่อเลี้ยงจึงควรมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ เช่น ไร่น้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อน ของแมลง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ควรให้อาหารสมทบด้วย เพื่อเป็นการเร่งให้พันธุ์แม่พันธุ์พร้อมที่จะทำการเพาะพันธุ์ได้ในเวลาที่เร็วขึ้น

3 ) การผสมพันธุ์และการวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง

พ่อแม่ปลานิลที่มีขนาดยาว 10 เซนติเมตร และมีอายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เป็นปลาโตได้ขนาดพร้อมที่จะสืบพันธุ์ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมแล้ว ปลาตัวผู้ก็จะแยกตัวออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรัง โดยเลือกเอาบริเวณชานบ่อตื้น ๆ ซึ่งมีระดับน้ำลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลงในระดับตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากกับการเคลื่อนไหวของลำตัวเขี่ยดินตะกอนออก โดยวิธีอมเอาดินตะกอนและเศษสิ่งของต่าง ๆ ในบริเวณนั้นไปทิ้งนอกรัง จะทำเช่นนี้อยู่เรื่อยไปจนกว่าจะได้รังซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมที่มีขนาดตามความต้องการ หากมีปลาอื่นอยู่ในแถบนั้นด้วย ปลานิลตัวผู้ก็จะพยายามขับไล่ให้ออกไปนอกบริเวณ ตัวมันเองจะคอยว่ายวนเวียนอยู่ในรัศมี 2-3 เมตรรอบ ๆ รัง และจะแผ่ครีบหลังอ้าปากกว้างอยู่ตลอดเวลา อาการเช่นนี้เป็นการเชิญชวนให้ตัวเมียซึ่งว่ายเข้ามาใกล้ ให้เข้ามายังรังที่ได้สร้างไว้ ปลาตัวเมียก็จะว่ายผ่านรังของปลาตัวผู้เตรียมไว้ถึง 3 รังก็มี

เมื่อต่างได้คู่แล้วก็จับคู่เคียงกันไป และจะใช้ทางดีดผัดผันแว้งกัดกันเบา ๆ หลังจากเคล้าเคลียในลักษณะ เช่นนี้ครู่หนึ่งแล้ว ปลาก็จะผสมพันธุ์ โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป

4 ) การฟักไข่ แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ แต่แม่ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง

การแพร่ขยายพันธุ์ของปลานิลนั้น ปริมาณไข่ที่แม่ปลาวางแต่ละครั้งจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาและฤดูกาล โดยประมาณแล้วปลานิลตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละ 50-600 ฟอง แม่ปลาที่เริ่มวางไข่ครั้งแรกจะให้ลูกปลาจำนวนไม่มากนัก ปริมาณไข่ของแม่ปลาจะเพิ่มมากตามขนาดของแม่ปลาที่เจริญวัยขึ้น แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ทุกระยะ 2-3 เดือนต่อครั้ง ถ้าหากบ่อเลี้ยงปลามีสภาพดีและมีการให้อาหารพอเพียงในเวลา 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ประมาณ 3-4 ครั้ง

5) การปล่อยปลาลงเลี้ยง

(1) จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว ดังนั้น จำนวน

ปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนัก สำหรับบ่อขนาดพื้นที่ 1 งาน (400 ตารางเมตร) ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง 50 คู่ หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง 400 ตัว หรือ 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

(2) เวลาปล่อยปลา เวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเย็น เพราะระยะเวลาดังกล่าวอุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไป ก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ จุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำ พร้อมกับตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปช้า ๆ

6) การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลานิลในบ่อแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการเลี้ยงดังนี้

(1) การเลี้ยงปลานิลแบบเดียว โดยปล่อยลูกปลาขนาดเท่ากันลงเลี้ยงพร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยง 6-12 เดือน แล้ววิดจับทั้งบ่อ

(2) การเลี้ยงปลานิลหลายรุ่นในบ่อเดียวกัน โดยใช้อวนจับปลาขนาดใหญ่ คัดเฉพาะขนาดปลาที่ตลาดต้องการจำหน่าย ปล่อยให้ปลาขนาดเล็กเจริญเติบโตต่อไป

(3) การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาจีน ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์จากอาหาร หรือเลี้ยงร่วมกับปลากินเนื้อ เพื่อกำจัดลูกปลาที่ไม่ต้องการ ขณะเดียวกันจะได้ปลากินเนื้อเป็นผลพลอยได้ เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลากราย และการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อน

(4) การเลี้ยงปลานิลแบบแยกเพศ คือ การเลี้ยงปลานิลเพศเดียวกันในบ่อเพื่อ

ป้องกันการแพร่พันธุ์ ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาเพศผู้ ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศเมีย

7) การให้อาหาร

ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะพวกอาหาร

ธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในบ่อ ตลอดจนสาหร่ายและแหน ถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว แหนเป็ดและปลาป่น เป็นต้น การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไป ควรกะให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของปลาเท่านั้น ส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราวร้อยละ 5 ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมด เสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้

2. การเจริญเติบโต

ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักถึง 500 กรัม(ครึ่ง กิโลกรัม) และเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว พ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะเริ่มวางไข่ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือน

ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลา

ในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไป หากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่น ปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย

คุณลักษณะของปลานิล

ปลานิล เป็นปลาที่มีเนื้อมากและมีรสดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับเนื้อปลาช่อน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิด ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อมหรือปลาส้ม และยังนำมาประกอบเป็นอาหาร แบบอื่นได้อีกหลากหลายชนิด นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้วปลานิลยังมีคุณลักษณะอีกหลายประการ ดังนี้

1. เลี้ยงง่าย มีคำกล่าวว่า “คนจนก็เลี้ยงปลานิลได้”            เพราะสามารถเลี้ยงโดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารที่กินทุนอย่างการเลี้ยงปลาดุกและปลาช่อน แม้จะต้องทยอยขาย และราคาไม่แพง ผู้เลี้ยงจะไม่เดือดร้อนเวลาราคาตกต่ำ การเลี้ยงปลานิลโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยการทำให้น้ำในบ่อมีอาหารธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีการใส่ปุ๋ยแก่บ่อ ทำให้เกิดแพลงก์ตอนหรือไรน้ำ ถ้าเกษตรกรขยันทำปุ๋ยหมักใช้เองหรือเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปก็จะประหยัดอาหารได้มาก

2. หาพันธุ์ได้ง่าย พันธุ์ปลานิลนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายจากบ่อเลี้ยงปลากินพืชทั่วไปแล้ว เกษตรกรยังสามารถเพาะพันธุ์ปลานิลได้เองโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ในกรณีที่เกษตรมีบ่อเลี้ยงปลาจำนวนน้อยบ่อ อาจรวมกลุ่มกันเพาะพันธุ์ปลานิล แล้วแบ่งลูกปลาไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ต่อไป

3. อดทน ปลานิลมีความอดทนมาก ไม่ค่อยเป็นโรคร้ายแรง สามารถอดทนอยู่ในบ่อปลาที่มีอาหารธรรมชาติจำนวนมาก จนมีน้ำสีเขียวจัด(น้ำเสีย) ได้ เกษตรกรจึงใช้น้ำทิ้งจากบ่อประหลาดุกมาเลี้ยงปลานิล ของเสียที่ปนอยู่ในน้ำก็เหมือนปุ๋ยที่ใส่ลงเพาะไรน้ำ ถ้าจัดให้มีบ่อเลี้ยงปลานิลรับน้ำที่ระบายจากบ่อประหลาดุกก็สามารถผลิตปลานิลได้โดยแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มเลย

4. การผสมพันธุ์ ปลานิลผสมพันธุ์เก่ง ผลิตลูกปลาได้เร็วจนแน่นบ่อ นอกจากสามารถนำเอาความรู้เรื่องธรรมชาติการผสมพันธุ์ของปลานิลไปใช้ในการเพาะพันธุ์ลูกปลาเป็นอาชีพแล้ว การปล่อยปลาบู่ ปลาช่อน หรือกุ้งก้ามกรามลงในบ่อปลานิลได้ช่วยกันกินลูกปลาให้น้อยลงบ้าง กลายมาเป็นผลผลิตปลาบู่ ปลาช่อนและกุ้ง ซึ่งราคาต่างกันมาก พอลูกปลาลดลงแล้วพ่อแม่ปลานิลก็เร่งผลิตลูกปลามาชดเชยอีก

5. โตเร็ว ปลานิลมีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ยในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี

credit: http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45210/4521002.html

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลานิล

1.เตรียมบ่อสำหรับใช้ในการเลี้ยงปลานิล ควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อจะได้เลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่ และสำหรับเพาะลูกปลาไปด้วยกัน

2.กำจัดวัชพืช เช่น ผักตบชวา จอก และหญ้าต่างๆ เพื่อไม่ให้รกบ่อเลี้ยง จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ อีกทั้งจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยศัตรูของปลาจำพวกสัตว์กินเนื้อต่างๆ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน กบ เขียด งู เป็นต้น

3.ใส่ปุ๋ย มูลวัว มูลเป็ด มูลไก่ที่ตากแห้ง เพื่อเป็นอาหารจากธรรมชาติ ปุ๋ยจะทำให้เกิดตะไคร่น้ำ และตัวไร ซึ่งนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก

4.การปล่อยปลานิลลงเลี้ยง จำนวนปลาที่ปล่อยครั้งแรกไม่ต้องมาก เพราะปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ควรใช้พ่อแม่ปลาเพียง 50 คู่ ถ้าเป็นลูกปลาปล่อยลงบ่อพอประมาณ ภายในระยะเวลา 1 ปี ปลานิลสามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้ง ทำให้ลูกปลาที่เกิดมาจะแน่นบ่ออย่างรวดเร็วปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะได้อาหารจากธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ตะไคร่น้ำ ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลง และสัตว์เล็กๆ ตลอดจนสาหร่าย แหน แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น จึงมีการให้อาหารเสริม อาทิ รำ ปลายข้าว กากถั่ว แหน ปลาป่น และไม่ควรให้อาหารเสริมมากไป จะทำให้น้ำเน่าเสียได้

 

 

credit: http://www.thaimuslim.com/overview.php?c=11&id=12797

ใส่ความเห็น »

ปลาดุกอุย

 

 

             ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลาดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน

อุปนิสัย

             ปลาดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธรรมชาติมักจะกินพวก ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

รูปร่างลักษณะ

ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงี่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง  นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับปลาหมอ ปลาช่อน

ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ

เพศปลาดุกอุย เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกันระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย

 การสืบพันธุ์

1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน

2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้าออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง

credit: http://www.fisheries.go.th/if-suratthani/1pladoog.htm

 

 

ใส่ความเห็น »

ผลผลิตของปลาดุกอุย

ผลผลิต

ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุกแล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน

การเลี้ยงปลาดุกอุยชนิดเดียวกันนี้จะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่ง แล้วหายไป ต่อมามีการนำปลาดุกอุยไปปล่อยเลี้ยง รวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาช่อน แต่จะปล่อยปลาดุกอุยตัวโต โดยไม่ได้ปล่อยปลาดุกอุยลงเลี้ยงเป็นปลาหลักเพียงแต่ปล่อยลงไปสมทบใน ปริมาณไม่มากนักก็จะได้ปลาขนาดใหญ่สีสันดีขึ้นไม่แตกต่างจากปลาธรรมชาติและ จำหน่ายได้ราคาดี เกษตรกรบางรายนำปลาดุกอุยไปปล่อย ร่วมกับในนาปลาสลิดโดยหวังผลข้างต้น ซึ่งได้ปลดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศมักนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก รัสเซียหรือปลาดุกอัฟริกัน เพศผู้กับปลาดุกอุยเพศเมียปลาดุกลูกผสมที่ได้จะเติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคสูง รูปร่างสีสันดีและเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย การเลี้ยงปลาชนิดนี้ปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จยึดเป็นอาชีพหลักได้ทำให้การเลี้ยงแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่หาอาหารปลาได้ง่ายราคาถูกและฝนไม่ตกชุกมากนัก จนกระทั่ง ปัจจุบัน ปลาดุกบิ๊กอุยได้เข้ามาแทนที่การเลี้ยงปลาดุกด้านอย่างสิ้นเชิง และไม่พบผู้เลี้ยงปลาดุกด้านเป็นการค้าซึ่งในอดีตมีอยู่มากมายได้หายไปหมด สิ้นจากประเทศ ไทยในขณะนี้

การตลาด

การตลาด เป็นปัญหาใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด ตลาดปลาดุกนั้นเป็นในลักษณะที่มีคนกลางเป็นผู้ตระเวนจับปลาโดยตรงจากบ่อ เลี้ยงแล้วนำไปส่งพ่อค้าขายปลีดตามที่ต่างๆ ตลาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ผู้จับปลามี บทบาทค่อนข้างสูงในการกำหนดราคาปลาร่วมกับความต้องการของตลาด ราคาปลาดุกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดและฤดู กาล โดยทั่วไปพบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ราคาปลาดุกมักจะราคาถูกเนื่องจากมีปลาธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก การเพิ่มปริมาณและมูลค่าก็คือการ ขยายตลาดต่างประเทศ การถนอมและแปรรูปในลักษณะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง

credit: http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=4657.0

ใส่ความเห็น »

โรคปลาดุกอุย

ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว

2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง

3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก

4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา

5. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

วิธีป้องกันการเกิดโรค

ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง

1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา

2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค

3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน

5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ

6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

 

ปลาดุกอุยที่เป็นโรค

 credit: http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=23&Itemid=32

ใส่ความเห็น »

การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย

การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย

            พ่อแม่พันธุ์ปลาส่วนใหญ่จะได้จากธรรมชาติบ่อปลาสลิดบ่อปลาที่เลี้ยงผสมผสาน โดยรวบรวมในช่วงฤดูแล้งปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีความสมบูรณ์ ทางเพศพร้อมที่จะนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือได้พ่อแม่พันธ์จากการขุนเลี้ยงขึ้นมาเอง เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะจับขึ้นมาคัดเพื่อเพาะพันธุ์ในรอบ 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง อายุการใช้งานของแม่ปลาแต่ละรุ่นจะใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี

การผสมเทียม

ในการเพาะฟักโดยวิธีผสมเทียมหากแม่ปลาดุกอุยไม่บอบช้ำมากอาจนำมาผสมเทียมได้ 2-3 ครั้ง/ปี การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยในอดีตใช้ฮอร์โมน สกัดจำพวก Gonadotrophim hormone (H.C.G)ผสมกับต่อมใต้สมองปลาในอัตรา H.C.G. 100-150 I.U. กับต่อมใต้สมองปลาสวาย ปลาไนหรือปลา อื่นๆ อัตราส่วน 0.7-1โดสต่อแม่ปลาที่มีน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังของตัวปลาเพื่อเร่งให้แม่ปลาไข่สุกพร้อม ที่จะวางไข่ซึ่งใช้ ้เวลาประมาณ 13-16 ชั่วโมง ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมใช้ฮอร์โนสังเคราะห์ เช่นSuperfact (Buseralin acetate) ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัมผสมกับ Motilium ( Domperidone) 0.5-1 เม็ด ต่อแม่ ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปลาดุกอุย จะวางไข่ในระยะเวลา 13-16 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมนสกัด แต่วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ง่ายและประหยัดกว่า

ลักษณะไข่ปลาดุกอุย

ไข่ปลาที่ดีจะไหลออกจากช่องเพศของปลาเพศเมียได้ง่ายไข่แต่ละเม็ดจะแยกออกจาก กัน ไม่ติดเป็นกระจุก ไข่ที่รีดได้จะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำ ตาลเข้ม และควรรีดไข่ออกจากแม่ปลาได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ จึงจะเป็นไข่ที่ดีและจะต้องไม่มีเลือดหรือของเหลวชนิดอื่นเจือปน เมื่อได้ไข่ปลามากพอแล้ว (ส่วนใหญ่จะรีดไข่จากแม่ปลาหลายๆแม่มารวมกัน) นำไข่ไปผสมกับน้ำเชื้อเพศผู้ ซึ่งแกะเอาถุงน้ำเชื้อมากจากช่องท้องของปลาเพศผู้ นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียวแล้ว ขยี้ในน้ำที่เตรียมไว้คั้นเอาน้ำเชื้อออกมาเทราดผสมกับไข่ คนไข่กับน้ำเชื้อคลุกเคล้ากันให้ทั่วเสร็จแล้วเติมน้ำและล้างให้สะอาด 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ไปฟัก

ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมกันเองในถังซีเมนต์หรือบ่อดินที่เตรียมไว้ กรณีนี้จะไม่ต้องเสียพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำแต่จะได้ลูกปลาจำนวน น้อยไม่เหมาะกับการทำธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย โดยต้องการลูกปลาดุกอุยเสริมบ่อเลี้ยงปลาในธรรมชาติวิธีนี้จะได้ผลดีในระดับ หนึ่ง ทั้งนี้ต้องเริ่มปล่อยปลาดุก ก่อนที่จะปล่อยปลาชนิดอื่น 10-20 วัน การเพาะพันธุ์วิธีดังกล่าวจะมีข้อเสียหากที่คับแคบปลาจะทำร้ายกันเองหนื่อ งจากการแย่งคู่ เพราะไข่ปลาจะติดกับพื้นภาชนะ นั้น แต่ควรจะคำนวนเวลาให้พ่อแม่ปลาผสมกันเองในช่วงเวลากลางคืน พ่อแม่ปลาจะได้ไม่ตกใจและไม่เครียด ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติดชนิดไม่ติดแน่นนักเมื่อหลุดจาก วัสดุที่เกาะแล้วจะไม่เกาะติดอีก ทำให้เลือกรูปแบบของการฟักได้

การฟักไข่ของปลาดุกอุยทั่วๆ ไปทำได้ 2 แบบ

1.การฟักในถุงฟัก การฟักไข่ปลาดุกอุยมีลักษระเช่นเดียวกับการฟักไข่ปลาครึ่งลอยครึ่งจมทั่วๆ ไป ซึ่งมีน้ำดันให้ไข่ลอยตัวจากก้นกรวยอย่าง สม่ำเสมอไข่ที่ได้รับการผสมหรือไขเสียจะสามารถดูดออกทิ้งได้เป็นระยะๆ โดยวิธีกาลักน้ำ การฟักไข่ปลาดุกอุยลักษณะนี้จะฟักไข่ได้อัตรารอดสูงและใช้น้ำมาก พอสมควร แต่ก็สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดจะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำนำลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ไปอนุบาล ในภาชนะอื่นต่อไป ในระยะนี้ลูกปลาวัยอ่อนค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปซุกอยู่ตามมุมหนึ่งมุมใดของบ่อและรวมตัวกันเป็นกระจุก เมื่อไข่แดงยุบหมดแล้วลูกปลาจะเริ่ม ลอยตัวว่ายไปมาเพื่อหาอาหาร และเคลื่อนไหวรวดเร็วมากในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อย เพราะปลาดุกอุยเป็นปลากินอาหารตอนกลางคืน โดยอุปนิสัยและ กินอาหารจุกว่าตอนกลางวัน

2.ส่วนการฟักไข่อีกวิธีหนึ่ง คือนำไข่ที่ผสมแล้วไปโรยไว้ให้เกาะติดกับอวนมุ้งไนลอนสีเขียวที่เตรียมไว้ โดยโรยไข่ให้กระจายติดตาข่ายอย่าง สม่ำเสมอ เมื่อฟักไข่เป็นตัวแล้วให้ลดระดับน้ำลงต่ำกว่าอวนมุ้งไนลอนประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นยกอวนมุ้งไนลอนซึ่งมีไข่เสียและเปลือกไข่ออกจากบ่อเพื่อป้อง กันน้ำเน่าเสีย แล้วเติมน้ำให้เท่ากับระดับเดิม การฟักไข่วิธีนี้ควรจะมีการระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี สำหรับเกษตรบางรายสามารถจัดระบบการหมุนเวียน น้ำได้ดีโดยโรยไข่ที่ผสมแล้วให้เกาะติดกับถังซีเมนต์ไปเลยก็ได้ การฟักไข่วิธีหลังนี้จะต้องใช้พื้นที่บ่อมาก ข้อสังเกต หากน้ำในบ่อไม่เน่าเสียลูกปลาดุกอุยที่ไข่แดง ยังไม่ยุบจะซุกตัวกันเป็นกระจุกอยู่ตามมุมบ่อ แต่ถ้าหากน้ำเน่าเสียปลาจะลอยตัวและไหลไปตามน้ำการเพาะฟัก ในปัจจุบันนิยมวิธีที่ 2

ลูกปลาดุกอุย

การอนุบาล

มีวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2×3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม. ความจุของบ่อขนาดดังกล่าวสามารถอนุบาล ลูก ปลาได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและการถ่ายน้ำ อาหารที่ให้คือไรแดง ในระยะเริ่มต้นหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3 วัน หลัง จากนั้นจะทยอยให้กินอาหารสำเร็จรูปพวกพาวเดอร์ฟีด(powder-feed)หรือไข่ตุ๋น อนุบาลลูกปลาประมาณ 12-15 วัน ลูกปลาจะมีขนาด2-3 ซม.สามารถ นำไป เลี้ยงเป็นปลาเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการอนุบาลที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่ง คือ การอนุบาลในบ่อดินทั่วๆ ไป ขนาด 400-1,600 ตารางเมตร

ในระยะแรกเติมน้ำเข้าบ่อที่ใส่ปูนขาวและกำจัดศัตรูปลาเรียบร้อยแล้วให้ระดับ น้ำประมาณ 30-50 ซม. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มขึ้นในระยะ ต่อมาการอนุบาลแบบนี้จะอนุบาลลูกปลาได้จำนวนมากและลูกปลาเติบโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดิยจะเกิดอาหารธรรมชาติมากมายหลายชนิด ส่วนอาหารใช้ ชนิดเดียวกันกับที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์

การให้อาหารควรเน้นให้ระยะเวลาพลบค่ำเป็นหลัก เพราะเวลานี้ลูกปลาจะตื่นตัวมากตามสัญญาณของสัตว์หากินกลางคืน การอนุบาลลูกปลาดุก วัยอ่อนปัญหาหลักคือ โรคปลา เนื่องจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นจะเกิดโรคบ่อยมากจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่อง ความสะอาด การให้อาหารมากเกินไปเศษอาหารจะเหลือ มากเกิดการหมักหมด บางครั้งต้องใช้น้ำยาเคมีและยาปฏิชีวนะเข้าช่วยบ้าง ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาจะเกิดมากในช่วงฝนตกชุกอากาศเย็นลูกปลาจะอ่อนแอ เติบโตช้า เป็นโรคง่าย ตรงกันข้ามหากอนุบาลในช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนฝนไม่ตกติดต่อกัน ลูกปลาดุกจะกินอาหารได้มากและเติบโตเร็ว แตกต่างกับการเลี้ยงใน ช่วงฤดูฝนตกชุกซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปลาดุกจะกลัวฝนและชอบอากาศร้อน

ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาดุกอุยและการนำลูกปลาดุกมาเลี้ยง ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเช่นกันในช่วงระยะเวลาที่ฝนตกชุกบางครั้งจำเป็นต้อง ใช้ปูนขาว ละลายน้ำสาดให้ทั่วๆ บ่อควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำให้ปกติซึ่งจะใช้ในอัตราส่วน 60 กก./ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งๆ ละ 20 กก./ไร่ ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและความเป็นกรดของน้ำลดลง การอนุบาลในบ่อดินนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะได้ลุกปลามีขนาดความยาว 5-7 ซม. ทยอยนำออกจำหน่ายหรือเลี้ยงต่อไป

ข้อควรระวัง

ในการอนุบาลลูกปลาทั้งสองวิธีข้างต้นอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องกำจัดลูกปลาดุกอุยรุ่นก่อนๆ ให้หมด หากมีการใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาซ้ำหรือการใช้ลูกปลาดุกอุยที่มีอายุและขนาดต่างกันมาเลี้ยงรวม กัน ลูกปลาจะเสียหายมากเนื่องจากการกินกันเอง ฉะนั้นตามซอกมุมรอยแตกหรือที่ๆ มีน้ำ ขังเพียงเล็กน้อยในการล้างทำความสะอาดบ่อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะบ่อดินมักจะกำจัดปลารุ่นก่อนๆ ไม่หมดปลารุ่นหลังจะถูกปลารุ่นก่อนๆ กัดกินเสียหายเป็น จำนวนมากและเช่นเดียวกันหากการอนุบาลใช้ระยะเวลามากกว่าที่กล่าว ลูกปลาตัวใหญ่จะกินลูกปลาตัวเล็ก เนื่องจากปลามีการเจริญเติบโตแตกต่างกันทำให้ลูกปลา เหลือน้อยมีปริมาณลดลงตามลำดับการเลี้ยงปลาดุกในระยะแรกๆ ที่มีการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยขึ้นมาได้ใหม่ๆ และอนุบาลลูกปลาให้มีขนาด 2-3 ซม.แล้วจึงนำลูกปลา ไปเลี้ยงในบ่อดินอัตราการปล่อยค่อนข้างหนาแน่น ประมาณ 10-20 ตัวต่อตารางเมตรหรือ 16,000-32,000 ตัวต่อไร่ หรืออาจมากกว่านี้ ความหนาแน่นที่พอ เหมาะนอกจากจะหวังผลในแง่ของผลผลิตต่อไร่แล้วยัง มีผลต่อการกินอาหารของปลาในบ่อมาก เพราะลูกปลาจะเหนี่ยวนำพากันกินอาหาร ได้ดีซึ่งเป็นธรรมชาติของปลาทั่วๆไปอาหารที่ให้กับการ เลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อดินนี้เช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนและจะทยอยปน ใส้ไก่หรืออื่นๆที่ราคา ถูก และหาได้ตามท้องถิ่นให้ทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะ เวลาต่อมา สำหรับการเปลี่ยนอาหารจะต้องหัดให้ปลากินโดยใช้ระยะเวลาพอสมควร ในกรณีที่เป็น อาหารสดจำพวกปลาเป็ดนำมาผสมรำละเอียด อัตราส่วน 9:1

ปลาอายุ 41-60 วัน ให้อาหาร 6-8% ของน้ำหนักปลา

ปลาอายุ 61-80 วัน ให้อาหาร 5-6% ของน้ำหนักปลา

ปลาอายุ 81-120 วัน ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักปลา

การตรวจสอบในบ่อว่ามีปลามากน้อยเพียงใด เพื่อจัดปริมาณอาหารให้ตามที่กำหนด พร้อมทั้งหมั่นสังเกตว่าอาหารที่ให้ปลา กินเหลือตกค้างในบ่อหรือไม ่อาหารที่เหลือจะลอยเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ แสดงว่าปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึง ต้องลดปริมาณอาหาร

credit: http://www.fisheries.go.th/if-korat/index.php?option=com_content&view=article&id=26:2009-09-09-08-36-02&catid=1:2009-08-04-06-15-39&Itemid=51

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลาดุกอุย

การเลี้ยงปลาดุกอุย

ชื่อไทย              :            ดุกอุย 
ชื่อสามัญ        :            GUNTHER’S WALKING CATFISH 
ชื่อวิทยาศาสตร์    :            Clarias macrocephalus 
ถิ่นอาศัย            :            มีอยู่ทั่วไปบริเวณลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีพันธุ์ไม้น้ำปกคลุมและมีพื้นเป็นโคลนตม 
อาหาร              :           สัตว์ ซากพืช และซากสัตว์ 
ขนาด                 :            ความยาวประมาณ 15-35 เซนติเมตร 
ประโยชน์             :            เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหาร เนื้ออ่อนนุ่มสีเหลือง ยกย่องกันว่ามีรสชาติอร่อยกว่าปลาดุกด้าน 

ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศ ไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบัง กลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับ ประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย (สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลา ดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำ ให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุก ภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูก ปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพ ของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน 

ลักษณะและการดูแลปลาดุกอุย

อุปนิสัย
ปลา ดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธรรมชาติมักจะกินพวก ซากสัตวที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

รูปร่างลักษณะ
ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงื่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศาช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับ ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ

เพศปลาดุกอุย
เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศ เมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกัน ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย

การสืบพันธุ์
1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน

2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่คุ่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้า ออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง

credit: http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=4657.0

ใส่ความเห็น »