>>> ปลาน้ำจืด <<<

โดย : นางสาวนงเยาว์ มูนจันทา

การเพาะพันธุ์ปลาหมอ

การเพาะพันธุ์ ปลาหมอ กลุ่มวางไข่

 

วิธีดู ไข่ปลาว่าติดไม่ติด

เมื่อปลาวางไข่ แล้ว ควรปล่อยให้ ปลาทั้งคู่ อยู่ด้วยกัน สัก 24 ชม. ก่อน แล้วค่อยแยกตัวผู้ออก เวลาแยก ต้องทำอย่างค่อย อย่ากวนน้ำ อย่าให้ปลาตื่น โดยปกติแล้วตัวเมีย จะดูแลไข่ แต่บางตัวก็กินไข่ จะแยกหรือไม่แยกก็แล้วแต่ครับ โดยปกติ แล้ว ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

ในวันที่ ไข่เริ่มเป็นจุดดำ หรือเป็นเม็ดสาคู ผมนิยมที่จะแยกปลาตัวเมียออก แล้ว ใช้หัวฟู่มาวางใกล้ๆ แทน เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่นั้น ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ ก็จะนอนดิ้นอยู่ในกระถาง หรือ พื้นตู้ บางครั้งจะมีไข่ที่ฝ่อ ถ้ามากก็ให้ยกกระถางออก แล้วก็ใช้มือพัดน้ำ ค่อยๆ นะ ให้ลูกปลาที่อยู่ในกระถางหลุดออกไป แต่ถ้ามีน้อยจะปล่อยไว้ก็ได้ครับ และเมื่อได้ 3-4 วัน ลูกปลาจะเริ่มบิน (ว่ายน้ำ) ยังไม่ต้องให้อาหารครับ ลูกปลาในระยะนี้ จะมีถุงไข่อยู่จะให้ก็เมื่อถุงไข่หมดไปแล้ว คือ ประมาณหลังจากปลาว่ายน้ำได้ 3 วันโดยประมาณ

 

อาหารลูกปลา

สาหร่าย Spirulina ชนิดผง หาซื้อได้ที่สวน จตุจักร มีเป็นกระปุก ราคาไม่เกิน 50 บาท และมี ที่ขายเป็นขีด ขีดละ 120 บาท ใส่ให้ลูกปลากินแต่ต้องระวังอย่าให้มากเกิน ให้แต่น้อยอาหารสำหรับลูกปลาพึ่งเกิด จะเป็นผงๆ ครับ ห่อเล็กๆ ไม่เกิน 30 บาท

เต้าหู้ไข่ไก่ หั่น บางๆ ใส่ให้ลูกปลากิน (ผมนิยมอันนี้มาก เพราะจากที่สังเกต มาลูกปลาชอบกิน)

ไข่ไก่ต้ม ใช้แต่ไข่แดงไรแดง ควรกรองก่อนให้นะครับโดยการใช้กระชอนตาถี่ ร่อนให้แต่ตัวเล็ก หลุดลงตู้ ให้อย่างนี้สัก 3-4 วันก็ให้ตามปกติได้เลย ( อันนี้ก็ดีมากครับ ลูกปลาจะโตไว ถ้าหากไม่ขาดให้เป็นอย่างเดียว จะดีมากหากมีเวลาไปซื้อ )

เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 10 วัน หรือ เริ่มตัวโตมีปากที่ใหญ่ขึ้น ก็ให้กินไส้เดือนได้ โดยใส่ไส้เดือนไว้ในกรวยแปะไว้ข้างตู้ ใส่ไว้ให้เต็มกรวย ไส้เดือนนั้นสามารถให้ได้ถึงโต และพวกลูกปลาจะชอบกินมาก ในช่วงนี้พยายามอย่าให้ลูกปลาขาดอาหาร เพราะปลาในช่วงนี้ถ้าอาหารถึงลูกปลาจะโตไวมากครับ

เรื่องของน้ำในช่วงนี้ ผมลืมบอกไปว่า เมื่อนำตัวเมียออกแล้วให้ลดน้ำสัก 30% น้ำ ในช่วงนี้ก็จะได้กรองฟองน้ำ คอยกรองน้ำอยู่ และเมื่อลูกปลาเริ่มโตขึ้น ก็ให้ค่อยๆ เพิ่มระดับ น้ำ ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม ในช่วงนี้ไม่ควรเปลี่ยนน้ำ ถ้าหากน้ำเริ่มขุ่นๆ ให้หยิบกรองฟองน้ำขึ้นมาทำความสะอาด แล้วก็ใส่กลับลงไป เมื่อลูกปลาได้ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก็สามารถเริ่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ครับ แต่ไม่ควรเปลี่ยนทีเดียว หมดตู้ ลูกปลาจะน็อคน้ำให้เปลี่ยนทีละ 30% หรือ ครึ่งตู้ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ สัก 3-4 หยด

ตู้ทำปลานั้นไม่ควรที่จะมีทรายหิน อยู่ในตู้เพราะช่วงที่ปลาออกจากไข่นั้น ลูกปลาจะมุดพื้นครับ ถ้ามีหินกรวดอยู่ในตู้อาจทำให้ลูกปลาตาย และถ้าลูกปลาโตขึ้น หากมีจำนวนมากแน่นเกินไป ก็ควรที่จะ หาตู้ใส่ลูกปลาเพิ่มนะครับ เนื่องจากหากมีจำนวนมาก จะทำให้การแย่งอาหารกันและการโตจะไม่เท่ากัน กับปัญหาเรื่องน้ำขุ่นมาก ก็ประมาณนี้ครับ เป็นวิธีที่ผมคิดว่าคงจะไม่ยากนะ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว สามารถนำไปปรับ แต่ตามความเหมาะสมได้

credit: http://www.ninekaow.com/scoops/?action=view&catID=0000001&pid=0000016

ใส่ความเห็น »

โรคและการรักษาปลาหมอ

การป้องกันโรค

โดยทั่วไปโรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้

โรคจุดขาว

อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ

โรคจากเห็บระฆัง

อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก

การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง

โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด

อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่  สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก

การป้องกันและรักษา

1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง

2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

โรคจากเชื้อรา

อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา

การป้องกันและรักษา

1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง

2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง

 

credit: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1194.0

ใส่ความเห็น »

การจับปลาหมอจำหน่าย

 

 

ปลาหมอที่โตเต็มที่แล้ว

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท

 credit: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1194.0

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลาหมอ

การเตรียมบ่อเลี้ยง

เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้

1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน

2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา

3. การตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์

4. สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย

5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น

อาหารและการให้อาหาร

ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้

credit: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1194.0

 

ใส่ความเห็น »

ปลาหมอ

 

          ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Climbing perch” หรือ “Climbing gourami”

ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง

ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วยมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น

credit: http://th.wikipedia.org/wiki/

 

 

ใส่ความเห็น »

โรคและการรักษาของปลานิล

1. โรคที่เกิดจากปรสิต

 

อาการ

-พบตามลำตัว ครีบ หรือเงือก

-ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปลาบริเวณที่ปรสิตเกาะ

-ถ้าพบที่เหงือก จะขัดขวางการแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเหงือก

-ปลามีการขับเมือกเพิ่มมากขึ้น

การรักษา

-ปรสิตภายนอก ใช้ฟอร์มาลีน 25-50 ซีซี ต่อ น้ำ 1 ตัน สาดให้ทั่วบ่อ

-ปรสิตภายใน ใช้ยาถ่ายพยาธิผสมให้กินติดต่อกันนาน

2. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย

อาการ

-ไม่กินอาหาร

-ท้องบวม ภายในมีของเหลวจำนวนมาก

-ว่ายน้ำเชื่องช้า เป็นวงกลม หรือว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ

-เป็นแผลที่ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ

-ตาโปน ขุ่นขาว

การรักษา

-โรคติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยาต้านจุลชีพผสมในอาหารให้กินติดต่อกันนาน 5-7 วัน

 

credit: http://www.fisheries.go.th/if-phayao/disease/d_nile.htm

ใส่ความเห็น »

การป้องกันและดูแลรักษาปลาจีน

การป้องกัน

เมื่อได้ปล่อยปลาลงเลี้ยงการป้องกันควรมีลวดตาข่ายถี่หรืออวนกั้นล้อมขอบบ่อจะช่วยให้ปลารอดตายมากขึ้น ฤดูร้อนปลากินอาหารดีมีอัตรา การเจริญเติบโตเร็วกว่าฤดูฝนและฤดูหนาว ในฤดูฝนเวลาเช้าปลามักจะลอยบนผิวน้ำเป็นประจำ เนื่องจากอากาศครึ้มออกซิเจนในน้ำมีน้อยไม่เพียงพอกับความ ต้องการของปลาส่วนฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศแจ่มใส มีแสงแดดพรรณไม้น้ำและพืชที่มีสีเขียวสามารถปรุงอาหารได้ในเวลาเดียวกันก็จะคายออกซิเจนออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อปลาและสิ่งที่มีชีวิตซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ

ข้อควรพึงระวังเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจีน

1.ศัตรู ผู้เลี้ยงปลาจะประสบความสำเร็จและได้ผลกำไรมากหรือน้อยนั้น ศตรูเป็นสิ่งสำคัญที่ระมัดระวังโดยเฉพาะ นก งู กบ และปลากิน เนื้อบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ฯลฯ

2.น้ำเสีย เมื่อสังเกตเห็นปลาลอยหัวบนผิวน้ำติดๆกัน 3 วัน ในเวลาเช้าแสดงว่าน้ำเสียปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของ ปลาควรเปลี่ยนน้ำใหม่

3.อาหาร ควรให้อาหารประจำทุกวันและกำจัดเศษอาหารที่เหลือหากปล่อยทิ้งไว้น้ำอาจเสียได้

4.ขโมย เนื่องจากเป็นปลาราคาดีและจำหน่ายได้ง่าย ผู้เลี้ยงมักจะถูกแกล้งและถูกขโมย ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงขาดทุน

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-jeen.php

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลาจีน

การเตรียมบ่อเลี้ยง

บ่อเลี้ยงลูกปลาจีนควรเป็นบ่อดิน มีความลึกประมาณ 1 เมตร ขนาดของบ่อไม่ควรเกิน 400 ตารางเมตร เลี้ยงลูกปลาจีนให้ได้ขนาด 12-15 เซนติเมตร จึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ความลึกไม่เกิน 2.5 เมตร ขนาดประมาณ 400 ตารางเมตรขึ้นไป อัตราการเลี้ยงลูกปลาใช้ 5-10 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนบ่อดินใหญ่ใช้อัตรา 40 ตัวต่อตารางเมตร ปลาจีนนั้นนิยมเลี้ยงรวมกันทั้งสามชนิด โดยใช้อัตราส่วน ปลาเฉา 7 ตัว ปลาลิ่น 2 ตัว และปลาซ่ง 1 ตัว ลูกปลาสามารถคัดได้ง่ายๆโดยการรวบรวมปลาไว้ในถังไม้ลึกประมาณ 1 เมตร ลูกปลาที่ว่ายลอยอยู่ผิวหน้าน้ำคือลูกปลาเฉา ลูกปลาที่ว่ายเป็นกลุ่มอยู่ในระดับกลางๆถัง คือ ลูกปลาลิ่น และลูกปลาที่ว่ายอยู่ก้นถังคือลูกปลาซ่ง

การเตรียมบ่อเลี้ยง ควรใช้ปุ๋ยคอกเพาะจุลินทรีย์ ในน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 10 ตารางเมตร และควรกองหญ้าหมักไว้ตามมุมบ่อด้วย

เมื่ออาหารบริบูรณ์ ปลาจะได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 20 เซฯติเมตร และหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 6 เดือน ตลาดนิยมปลาขนาดไม่เกินตัวละ 1 กิโลกรัม

การให้อาหารเสริม

เกี่ยวหญ้าขนเลี้ยงปลาเฉาทุกวัน โดยจัดให้กินตามบ่อเป็นแหล่งๆไป อาหารเสริมถ้าจะให้ก็มี กากถั่ว ผักบุ้ง ผักชนิดต่างๆ ลูกปลาอาจให้รำละเอียดเป็นอาหาร ส่วนปลาลิ่นนั้นอาศัย จุลินทรีย์ที่เกิดจากมูลปลาเฉาเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาซ่ง ถ้าปลาอดอาหาร ปลาซ่งจะหาหอยตามพื้นดินก้นบ่อกินเป็นอาหาร

credit: http://www.oknation.net/blog/surapinyo/2010/11/30/entry-6

ใส่ความเห็น »

การจำหน่ายปลาจีน

การจำหน่ายปลาจีน

ปลาจีนมีตลาดจำกัด ยังไม่มีวางขายโดยทั่วไป การขายปลาต้องติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งจะมีเป็นบางท้องที่ เช่น ตลาดเก่าเยาวราช และตามร้านขายอาหารจีน ปลาจีนจำหน่ายในขณะที่ปลายังมีชีวิตอยู่ ก่อนนำมาจำหน่ายต้องจับปลาให้อยู่ในน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 วัน ขนาดที่จำหน่ายนั้น ตั้งแต่ 0.5-1.0 กิโลกรัม หรือขนาดใส่จานเปลพอดี เมื่อปลาติดตลาด ผู้ซื้อจะคัดปลาเองที่บ่อเลี้ยง ส่วนมากการซื้อขายจะผูกพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น ถ้าผู้เลี้ยงซื้อลูกปลาของผู้ขาย ผู้ขายคัดจำหน่ายปลาโตให้ ดังนี้เป็นต้น ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 15-20 บาทต่อกิโลกรัม ผู้ขายปลีกตามตลาดสดมักจะแบ่งปลาขายตัวหนึ่ง 2 ท่อนเท่านั้น คือท่อนหัวและท่อนหาง

credit: http://www.oknation.net/blog/surapinyo/2010/11/30/entry-6

 

ใส่ความเห็น »

การเพาะพันธุ์ปลาจีน

การเพาะพันธุ์ผสมเทียมปลาจีน

1.การเลี้ยงพ่อ – แม่พันธุ์

ควรเลี้ยงในบ่อดินขนาดประมาณ 800 ตารางเมตรขึ้นไป ปลาจีนทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถปล่อยรวมกันได้ในอัตรา 50-80 ตัว/ไร่ (ปลาขนาด 2-3 กิโลกรัม) ในเรื่องอาหารนั้นควรเตรียมอาหารธรรมชาติ โดยใส่ปุ๋ยคอก 250 กิโลกรัม/ไร่ ประมาณ 5-7 วัน น้ำจะเขียว เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งน้ำเริ่ม จางก็เติมปุ๋ยคอกในอัตราครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ใส่ครั้งแรก สำหรับปลาเฉานั้น ควรให้ข้าวเปลือกงอกเป็นอาหารเสริม

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกอาจให้อาหารเม็ดสำหรับปลากินพืชในอัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวก็ได้ ในระหว่างการเลี้ยงควรมี การถ่ายเทน้ำ(หรือเติมน้ำ) เข้าบ่อ 3-4 ครั้ง/เดือน โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือน ก่อนฤดูการผสมพันธุ์ สำหรับอายุแม่ปลานั้นแมีปลาที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี จะให้ไข่ที่มีคุณภาพดี

2.การคัดเลือกพ่อ – แม่พันธุ์

ก่อนที่คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ต้องงดให้อาหาร 1 วัน เพื่อจะสามารถสังเกตท้องปลาได้แน่นอน ในกรณีที่เลี้ยงโดยการใส่ปุ๋ย ควรนำพ่อ-แม่ ปลามาขังไว้ในบ่อพักก่อนการคัดเลือกประมาณ 5-6 ชั่วโมง แม่ปลาที่มีไข่แก่จัดสังเกตุได้จากส่วนท้องอูมเป่ง ผนังท้องบาง จับดูรู้สึกนิ่มหยุ่นมือช่องเพศและ ช่องทวารหนักหนักพวมพองมีวีแดงเรื่อๆ สำหรับปลาเพศผู้ไม่ค่อยมีปัญหามากนักอาจจะลองรีดน้ำเชื้อดูเล็กน้อยหากน้ำเชื้อมีสีขาวขุ่นหยดลงน้ำแล้วกระจาย ดีก็ใช้ได้ แต่หากน้ำเชื้อค่อนข้างใสมีสีอมเหลืองหรืออมชมพูหยดลงน้ำกระจายไม่สม่ำเสมอ ไม่ควรนำตัวผู้นั้นมาผสมเทียม

.3.การฉีดฮอร์โมน

ในการเพาะพันธุ์ปลาจีนนั้น ในอดีตนิยมใช้ต่อมใต้สมองร่วมกับ HCG แต่ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRH-a ร่วมกับยา เสริมฤทธิ์ Domperidone

4.การผสมพันธุ์

เมื่อได้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หลังจากการฉีดแม่ปลาควรเริ่มสังเกตอาการของแม่ปลา เมื่อแม่ปลามีอาการกระวนกระวายผิดปกติว่าย น้ำไปมาอย่างรุนแรง ควรตรวจสอบแม่ปลาโดยใช้เปลผ้าตักแม่ปลาขึ้นมาตรวจสอบ เมื่อพบว่าไข่ไหลพุ่งออกมาอย่างง่ายดาย ก็นำมารีดและทำการผสมเทียม กับน้ำเชื้อตัวผู้

5.การฟักไข่

เนื่องจากไข่ของปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย จึงต้องพักในระบบกรวยฟัก เช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาวเพียงแต่ต้องลด ปริมาณไข่ในแต่ละกรวยให้น้อยลง เนื่องจากไข่ปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าไข่ปลาตะเพียนขาว โดยกรวยฟักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร จะฟักไข่ปลาจีนได้ประมาณ 30,000-50,000 ฟอง เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 20-24 ชั่วโมง จะฟักเป็นตัวที่อุณหภูมิน้ำ 28-30 องศาเซล เซียส

การอนุบาลลูกปลา

ลูกปลาทั้ง 3 ชนิด เมื่อแรกออกจากไข่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจะเริ่มกินอาหารภายในระยะเวลา 2-3 วัน การอนุบาลลูกปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ ในระยะเวลา 2-3 วันแรก จะให้กินไข่แดงต้มละลายน้ำ ฉีดให้กินวันละหลายครั้ง หลังจากนั้นจึงย้ายลูกปลาลงบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นบ่อดินที่เตรียมไว้อย่างดีก็คือ กำจัดศัตรูปลาโรยปูนขาวและใส่ปุ๋ยจนน้ำมีสีเขียว ในระยะแรกยังให้ไข่ปลาเป็นอาหารอยู่ จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรำผสมปลาป่นถ้าปล่อยลูกปลาในอัตรา 1,000-1,500 ตัว/ตารางเมตร อนุบาล 3-4 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร

อีกวิธีหนึ่งคือ นำพันธุ์ปลาที่ซื้อจากฟาร์มจำหน่ายลูกปลา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มาเลี้ยงโดยเลี้ยงลูกปลารวมกันในอัตรา ส่วนปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาซ่ง 12-15 ตัว/ตารางเมตร หรือปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาลิ่น 12-15 ตัว/ตารางเมตร เมื่อเลี้ยงได้ขนาด 10- 15 เซนติเมตร จัดคัดขนาดลงในบ่อเลี้ยงเพราะปลาขนาดนี้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมบูรณ์ เช่น ปลาเฉามีฟันที่คอหอยที่สมูรณ์พอที่จะตัดบดหญ้าหรือ วัชพืชน้ำก็ได้ เมื่อคัดประมาณ 10-15 เซนติเมตร ออกไปเลี้ยงหรือจำหน่ายแล้ว ควรปล่อยปลาเล้กทดแทนตามจำนวนปลาที่คัดออกไปพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอก และให้อาหารได้แก่ กากถั่วเหลือง รำละเอียด แหนเป็ด ผำน้ำ วัชพืชน้ำและหญ้า เป็นอาหารเพิ่มเติม

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-jeen.php

ใส่ความเห็น »