>>> ปลาน้ำจืด <<<

โดย : นางสาวนงเยาว์ มูนจันทา

การป้องกันและดูแลรักษาปลาจีน

การป้องกัน

เมื่อได้ปล่อยปลาลงเลี้ยงการป้องกันควรมีลวดตาข่ายถี่หรืออวนกั้นล้อมขอบบ่อจะช่วยให้ปลารอดตายมากขึ้น ฤดูร้อนปลากินอาหารดีมีอัตรา การเจริญเติบโตเร็วกว่าฤดูฝนและฤดูหนาว ในฤดูฝนเวลาเช้าปลามักจะลอยบนผิวน้ำเป็นประจำ เนื่องจากอากาศครึ้มออกซิเจนในน้ำมีน้อยไม่เพียงพอกับความ ต้องการของปลาส่วนฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศแจ่มใส มีแสงแดดพรรณไม้น้ำและพืชที่มีสีเขียวสามารถปรุงอาหารได้ในเวลาเดียวกันก็จะคายออกซิเจนออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อปลาและสิ่งที่มีชีวิตซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ

ข้อควรพึงระวังเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจีน

1.ศัตรู ผู้เลี้ยงปลาจะประสบความสำเร็จและได้ผลกำไรมากหรือน้อยนั้น ศตรูเป็นสิ่งสำคัญที่ระมัดระวังโดยเฉพาะ นก งู กบ และปลากิน เนื้อบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ฯลฯ

2.น้ำเสีย เมื่อสังเกตเห็นปลาลอยหัวบนผิวน้ำติดๆกัน 3 วัน ในเวลาเช้าแสดงว่าน้ำเสียปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของ ปลาควรเปลี่ยนน้ำใหม่

3.อาหาร ควรให้อาหารประจำทุกวันและกำจัดเศษอาหารที่เหลือหากปล่อยทิ้งไว้น้ำอาจเสียได้

4.ขโมย เนื่องจากเป็นปลาราคาดีและจำหน่ายได้ง่าย ผู้เลี้ยงมักจะถูกแกล้งและถูกขโมย ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงขาดทุน

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-jeen.php

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลาจีน

การเตรียมบ่อเลี้ยง

บ่อเลี้ยงลูกปลาจีนควรเป็นบ่อดิน มีความลึกประมาณ 1 เมตร ขนาดของบ่อไม่ควรเกิน 400 ตารางเมตร เลี้ยงลูกปลาจีนให้ได้ขนาด 12-15 เซนติเมตร จึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ความลึกไม่เกิน 2.5 เมตร ขนาดประมาณ 400 ตารางเมตรขึ้นไป อัตราการเลี้ยงลูกปลาใช้ 5-10 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนบ่อดินใหญ่ใช้อัตรา 40 ตัวต่อตารางเมตร ปลาจีนนั้นนิยมเลี้ยงรวมกันทั้งสามชนิด โดยใช้อัตราส่วน ปลาเฉา 7 ตัว ปลาลิ่น 2 ตัว และปลาซ่ง 1 ตัว ลูกปลาสามารถคัดได้ง่ายๆโดยการรวบรวมปลาไว้ในถังไม้ลึกประมาณ 1 เมตร ลูกปลาที่ว่ายลอยอยู่ผิวหน้าน้ำคือลูกปลาเฉา ลูกปลาที่ว่ายเป็นกลุ่มอยู่ในระดับกลางๆถัง คือ ลูกปลาลิ่น และลูกปลาที่ว่ายอยู่ก้นถังคือลูกปลาซ่ง

การเตรียมบ่อเลี้ยง ควรใช้ปุ๋ยคอกเพาะจุลินทรีย์ ในน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 10 ตารางเมตร และควรกองหญ้าหมักไว้ตามมุมบ่อด้วย

เมื่ออาหารบริบูรณ์ ปลาจะได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 20 เซฯติเมตร และหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 6 เดือน ตลาดนิยมปลาขนาดไม่เกินตัวละ 1 กิโลกรัม

การให้อาหารเสริม

เกี่ยวหญ้าขนเลี้ยงปลาเฉาทุกวัน โดยจัดให้กินตามบ่อเป็นแหล่งๆไป อาหารเสริมถ้าจะให้ก็มี กากถั่ว ผักบุ้ง ผักชนิดต่างๆ ลูกปลาอาจให้รำละเอียดเป็นอาหาร ส่วนปลาลิ่นนั้นอาศัย จุลินทรีย์ที่เกิดจากมูลปลาเฉาเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาซ่ง ถ้าปลาอดอาหาร ปลาซ่งจะหาหอยตามพื้นดินก้นบ่อกินเป็นอาหาร

credit: http://www.oknation.net/blog/surapinyo/2010/11/30/entry-6

ใส่ความเห็น »

การจำหน่ายปลาจีน

การจำหน่ายปลาจีน

ปลาจีนมีตลาดจำกัด ยังไม่มีวางขายโดยทั่วไป การขายปลาต้องติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งจะมีเป็นบางท้องที่ เช่น ตลาดเก่าเยาวราช และตามร้านขายอาหารจีน ปลาจีนจำหน่ายในขณะที่ปลายังมีชีวิตอยู่ ก่อนนำมาจำหน่ายต้องจับปลาให้อยู่ในน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 วัน ขนาดที่จำหน่ายนั้น ตั้งแต่ 0.5-1.0 กิโลกรัม หรือขนาดใส่จานเปลพอดี เมื่อปลาติดตลาด ผู้ซื้อจะคัดปลาเองที่บ่อเลี้ยง ส่วนมากการซื้อขายจะผูกพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น ถ้าผู้เลี้ยงซื้อลูกปลาของผู้ขาย ผู้ขายคัดจำหน่ายปลาโตให้ ดังนี้เป็นต้น ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 15-20 บาทต่อกิโลกรัม ผู้ขายปลีกตามตลาดสดมักจะแบ่งปลาขายตัวหนึ่ง 2 ท่อนเท่านั้น คือท่อนหัวและท่อนหาง

credit: http://www.oknation.net/blog/surapinyo/2010/11/30/entry-6

 

ใส่ความเห็น »

การเพาะพันธุ์ปลาจีน

การเพาะพันธุ์ผสมเทียมปลาจีน

1.การเลี้ยงพ่อ – แม่พันธุ์

ควรเลี้ยงในบ่อดินขนาดประมาณ 800 ตารางเมตรขึ้นไป ปลาจีนทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถปล่อยรวมกันได้ในอัตรา 50-80 ตัว/ไร่ (ปลาขนาด 2-3 กิโลกรัม) ในเรื่องอาหารนั้นควรเตรียมอาหารธรรมชาติ โดยใส่ปุ๋ยคอก 250 กิโลกรัม/ไร่ ประมาณ 5-7 วัน น้ำจะเขียว เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งน้ำเริ่ม จางก็เติมปุ๋ยคอกในอัตราครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ใส่ครั้งแรก สำหรับปลาเฉานั้น ควรให้ข้าวเปลือกงอกเป็นอาหารเสริม

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกอาจให้อาหารเม็ดสำหรับปลากินพืชในอัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวก็ได้ ในระหว่างการเลี้ยงควรมี การถ่ายเทน้ำ(หรือเติมน้ำ) เข้าบ่อ 3-4 ครั้ง/เดือน โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือน ก่อนฤดูการผสมพันธุ์ สำหรับอายุแม่ปลานั้นแมีปลาที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี จะให้ไข่ที่มีคุณภาพดี

2.การคัดเลือกพ่อ – แม่พันธุ์

ก่อนที่คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ต้องงดให้อาหาร 1 วัน เพื่อจะสามารถสังเกตท้องปลาได้แน่นอน ในกรณีที่เลี้ยงโดยการใส่ปุ๋ย ควรนำพ่อ-แม่ ปลามาขังไว้ในบ่อพักก่อนการคัดเลือกประมาณ 5-6 ชั่วโมง แม่ปลาที่มีไข่แก่จัดสังเกตุได้จากส่วนท้องอูมเป่ง ผนังท้องบาง จับดูรู้สึกนิ่มหยุ่นมือช่องเพศและ ช่องทวารหนักหนักพวมพองมีวีแดงเรื่อๆ สำหรับปลาเพศผู้ไม่ค่อยมีปัญหามากนักอาจจะลองรีดน้ำเชื้อดูเล็กน้อยหากน้ำเชื้อมีสีขาวขุ่นหยดลงน้ำแล้วกระจาย ดีก็ใช้ได้ แต่หากน้ำเชื้อค่อนข้างใสมีสีอมเหลืองหรืออมชมพูหยดลงน้ำกระจายไม่สม่ำเสมอ ไม่ควรนำตัวผู้นั้นมาผสมเทียม

.3.การฉีดฮอร์โมน

ในการเพาะพันธุ์ปลาจีนนั้น ในอดีตนิยมใช้ต่อมใต้สมองร่วมกับ HCG แต่ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRH-a ร่วมกับยา เสริมฤทธิ์ Domperidone

4.การผสมพันธุ์

เมื่อได้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หลังจากการฉีดแม่ปลาควรเริ่มสังเกตอาการของแม่ปลา เมื่อแม่ปลามีอาการกระวนกระวายผิดปกติว่าย น้ำไปมาอย่างรุนแรง ควรตรวจสอบแม่ปลาโดยใช้เปลผ้าตักแม่ปลาขึ้นมาตรวจสอบ เมื่อพบว่าไข่ไหลพุ่งออกมาอย่างง่ายดาย ก็นำมารีดและทำการผสมเทียม กับน้ำเชื้อตัวผู้

5.การฟักไข่

เนื่องจากไข่ของปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย จึงต้องพักในระบบกรวยฟัก เช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาวเพียงแต่ต้องลด ปริมาณไข่ในแต่ละกรวยให้น้อยลง เนื่องจากไข่ปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าไข่ปลาตะเพียนขาว โดยกรวยฟักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร จะฟักไข่ปลาจีนได้ประมาณ 30,000-50,000 ฟอง เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 20-24 ชั่วโมง จะฟักเป็นตัวที่อุณหภูมิน้ำ 28-30 องศาเซล เซียส

การอนุบาลลูกปลา

ลูกปลาทั้ง 3 ชนิด เมื่อแรกออกจากไข่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจะเริ่มกินอาหารภายในระยะเวลา 2-3 วัน การอนุบาลลูกปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ ในระยะเวลา 2-3 วันแรก จะให้กินไข่แดงต้มละลายน้ำ ฉีดให้กินวันละหลายครั้ง หลังจากนั้นจึงย้ายลูกปลาลงบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นบ่อดินที่เตรียมไว้อย่างดีก็คือ กำจัดศัตรูปลาโรยปูนขาวและใส่ปุ๋ยจนน้ำมีสีเขียว ในระยะแรกยังให้ไข่ปลาเป็นอาหารอยู่ จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรำผสมปลาป่นถ้าปล่อยลูกปลาในอัตรา 1,000-1,500 ตัว/ตารางเมตร อนุบาล 3-4 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร

อีกวิธีหนึ่งคือ นำพันธุ์ปลาที่ซื้อจากฟาร์มจำหน่ายลูกปลา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มาเลี้ยงโดยเลี้ยงลูกปลารวมกันในอัตรา ส่วนปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาซ่ง 12-15 ตัว/ตารางเมตร หรือปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาลิ่น 12-15 ตัว/ตารางเมตร เมื่อเลี้ยงได้ขนาด 10- 15 เซนติเมตร จัดคัดขนาดลงในบ่อเลี้ยงเพราะปลาขนาดนี้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมบูรณ์ เช่น ปลาเฉามีฟันที่คอหอยที่สมูรณ์พอที่จะตัดบดหญ้าหรือ วัชพืชน้ำก็ได้ เมื่อคัดประมาณ 10-15 เซนติเมตร ออกไปเลี้ยงหรือจำหน่ายแล้ว ควรปล่อยปลาเล้กทดแทนตามจำนวนปลาที่คัดออกไปพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอก และให้อาหารได้แก่ กากถั่วเหลือง รำละเอียด แหนเป็ด ผำน้ำ วัชพืชน้ำและหญ้า เป็นอาหารเพิ่มเติม

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-jeen.php

ใส่ความเห็น »

ปลาจีน

 

ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา 3 ชนิด คือ ปลาเฉาหรือเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้า ปลาลิ่นหรือปลาลิ่นฮื้อ หรือปลาเกล็ดเงิน และปลาซ่งหรือซ่ง ฮื้อหรือปลาหัวโต ปลาทั้งสามชนิดนี้เป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทย พบว่า ปลาทั้งสามชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะ การเลี้ยงในบ่อที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปลาจะไม่วางไข่ในบ่อเลี้ยง จึงจำเป็นต้องเพาะพันธุ์ดดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม

แหล่งกำเนิด

ปลาจีน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

ลักษณะทั่วไป

ในบรรดาปลาจีนทั้ง 3 ชนิดนี้ ปลาลิ่นและปลาซ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด จะสังเกตุความแตกต่างได้จากลักษณะของหัว ซึ่งปลา ซ่งมีหัวค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลาหัวโต (Bighead carp) ไม่มีสันบริเวณท้อง ตรงข้ามกับปลาลิ่นซึ่งมีหัวขนาดเล็ก กว่าและมีสันแหลมบริเวณท้อง ปลาทั้งสองชนิดนี้มีเกล็ดสีเงินแวววาว แต่บางครั้งเกล็ดของปลาซ่งจะมีสีดำเป็นจุดอยู่บนเกล็ดบางส่วน สำหรับปลาเฉานั้นมี เกล็ดขนาดใหญ่ นอกจากนั้นลำตัวยังกลมและยาวมากกว่า ส่วนหลังมีสีดำน้ำตาล ส่วนท้องสีขาว

ปลาเกล็ดเงิน (ปลาลิ่น) (Silver carp)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichtys molitrix (Cuv.&Val) ส่วนหัวมีขนาดปานกลาง ปากเชิดขึ้นเล็กน้อยอยู่ปลายสุดของหัว ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นมาเล็กน้อย ตาค่อนข้างเล็กและอยู่ต้ระดับกึ่งกลางลำตัว ส่วนหนังของเหลือกไม่เชื่อมสนิทกับแก้มส่วนล่าง มีอวัยวะ Super branchial อยู่ ซี่กรองเหงือกติดต่อกันเหมือนตะแกรงที่มีลักษระคล้ายฟองน้ำ ฟันที่คอหอยมีข้างละแถวๆ ละ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนเป็นร่องละเอียด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมี ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมีครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดบนเส้นข้างลำตัวมี 110-123 เกล็ดลำตัวรูปกระสวยแบนข้างส่วนท้อง เป็นสันยาวจากอกถึงรูก้น ลำตัวส่วนหลังสีดำ เทา ส่วนอื่นๆ สีเงิน

ปลาหัวโต (ปลาซ่ง) (Bighead carp)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthysnobilis (Richardson) ส่วนหัวมีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของลำตัว ปากอยู่ปลายสูงสุดและ เชิดขึ้นข้างบน ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อยตาค่อนข้างเล็กอยู่ต่ำเยื้องมาทางส่วนหน้าซี่กรองเหงือกถี่และมีขนาดเล็กแต่ไม่ติดกัน ที่คอหอยมีฟัน ข้างละแถวๆ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนและเรียบ ครีบบนหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านและ ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดเล็กที่เส้นข้างลำตัว มี 95-105 เกล็ด ลำตัวกระสวย ส่วนท้องเป็น สัน ตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หางแบนข้างและเป็นสัน ส่วนหลังจะมีสีคล้ำและจุดดำบางแห่งท้องเหลือง

ปลากินหญ้า (ปลาเฉา) (Grass carp)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ctenopharyngodon idellus (Cuv.&val) ส่วนหัวค่อนข้างแบนปากอยู่ปลายสุดเฉียงขึ้นเล็กน้อยขากรรไกร ล่างสั้นกว่าขากรรไกรบน ตาเล็ก ซี่เหงือกติดต่อกับแก้ม ซี่กรองเหงือกห่างและสั้น ฟันที่คอหอยมีอยู่ 7 แถวคล้ายหวี ข้างซ้ายมี 2-5 ซี่ ข้างขวามี 2-4 ซี่ครีบ หลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน ก้านครีบ แขนง 14 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดขนาดใหญ่บริเวณข้างลำตัว 34-35 เกล็ด ลำตัวรูปกระสวยคล้ายทรงกระบอก หางแบนข้าง ส่วนหลังมีสีดำ น้ำตาล ท้องสีขาว

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-jeen.php

ใส่ความเห็น »

โรคของปลาแรด

โรคและศัตรของพันธุ์ปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฎว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือเชื้อราศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

 

 

ปลาแรดที่เป็นโรค

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

ใส่ความเห็น »

การจำหน่ายปลาแรด

การจำหน่ายปลาแรด

ปลาที่มีอายุ 1 ปี จะน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนปลาที่มีอายุ 3 ปี ควรทำการคัดเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์เพื่อเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์

การจับลำเลียงและขนส่งพันธุ์ปลาแรด

ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะขายลูกปลาให้แก่ผู้ซื้อไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ 2 ขนาด คือ ปลาขนาด 2-3 ซม. ซึ่งใช้เวลาอนุบาล 1 เดือน และปลาขนาด 5-7 ซม. ใช้เวลา อนุบาล 2 เดือน ก่อนการขนส่งจะจับลูกปลามาพักไว้ในบ่อซีเมนต์หรือกระชังแล้วพ่นน้ำ เพิ่มออกซิเจน และงดอาหารประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ลูกปลาเคยจนต่อการอยู่ในที่แคบ และขับถ่ายอาหารที่กินเข้าไปออกให้มากที่สุด การลำเลียงนิยมใช้ถุงพลาสติกขนาด ปริมาณ 20 ลิตร ใส่น้ำ 5 ลิตร บรรจุลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ในอัตรา 500-2,000 ตัว/ถุงอัดออกซิเจน หากลูกปลาโตขนาด 5 ถึง 7 ซม. ควรใส่ปีบหรือถังลำเลียงในอัตรา 200-300 ตัว/ปีบ (น้ำ 10-15 ลิตร)

ทั้งนี้ ในระหว่างการลำเลียงควรใส่ยาเหลืองในอัตรา 1-3 ส่วนในล้าน หรือ เกลือในอัตรา 0.1-0.2% เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและป้องกันเชื้อราที่ จะเกิดขึ้นเมื่อปลาเกิดบาดแผลในระหว่างการเดินทาง ก่อนปล่อยปลาลงในที่ใหม่ ต้อง แช่ถุงลำเลียงลูกปลาในน้ำประมาณ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมให้กับลูกปลา

ต้นทุนและผลตอบแทนพันธุ์ปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลงทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท

เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479 บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซนต์จะได้กำไร 32 % ซึ่งเป็นเปอร์เซนต์ที่ค่อนข้างสูง

 

ผลผลิตปลาแรด

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

ใส่ความเห็น »

การเพาะพันธุ์ปลาแรด

การเพาะพันธุ์ปลาแรด

ปลาแรดสามารถวางไข่ได้ตลอดปี แต่จะมีไข่สูงใน ช่วง 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่ การเพาะพันธุ์ จึงควรใส่ฟางหรือหญ้าเพื่อให้ปลาแรดนำไปใช้ในการสร้างรัง รังจะมีลักษณะคล้ายรังนก และจะมีฝาปิดรัง ขนาดรังโดยทั่ว ๆ ไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต ใช้เวลาสร้าง ประมาณ 1 สัปดาห์ การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติในบ่อดิน บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็น บ่อขนาดใหญ่ 1-2 ไร่ อัตราการปล่อยปลาตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:2 จำนวน 100-150 คู่/ไร่ แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ระหว่าง 2,000-4,000 ฟอง

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บริเวณพื้นบ่อมีสภาพเป็นโคลน ให้มีหญ้าและพันธุ์ ไม้น้ำขึ้นหนาสักหน่อย พร้อมทั้งหากิ่งไผ่ ผักให้จมอยู่ในน้ำเพื่อใช้เป็นที่สร้างรังพ่อแม่ปลา จะคอยระวังรักษาลูกอ่อนอยู่ใกล้ ๆ รังและจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูที่มารบกวนอย่างเต็มที่ หรือ อาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำแม่น้ำที่ไม่ไหลเชี่ยวมาก ใช้เพาะปลาแรด เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ

การฟักไข่พันธุ์ปลาแรด

ไข่ปลาแรดเป็นประเภทไข่ลอย (มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน มีไขมันมาก กลิ่นคาวจัด ไม่มีเมือกเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร) เมื่อ ปลาแรดวางไข่แล้วนำรังที่มีไข่ขึ้นมาแล้วคัดเฉพาะไข่ดี ควรช้อนคราบไขมันออกมิฉะนั้น แล้ว จะทำให้น้ำเสียและปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ใส่ถังส้วมทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. ให้เครื่องเป่าอากาศเบา ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ หรือฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว กระชังมีรูปร่าง สี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 ใช้หูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้นเพื่อให้กระปังดึงคงรูปอยู่ได้ ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชังเพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกได้ มากที่สุด ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 เซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และยึดติดกับพืชน้ำ ลูกปลาจะเริ่มกิน อาหารในวันที่ 5-7 โดยให้ไข่ชง อายุ 7-10 วัน ให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ ช่วงที่ให้ไข่เป็น อาหาร ควรให้ทีละน้อยในบริเวณที่ลูกปลารวมเป็นกลุ่ม อายุ 10-15 วัน จึงให้ไรแดง ลูกปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย เมื่ออายุได้ 4 เดือน

การอนุบาลพันธุ์ปลาแรด

บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา 100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. เดือนที่จะมีความยาว 2-3 ซม. ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป

 

ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดโตและปลาสวยงาม ราคาตัวละ 3-4 บาท

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

 

ใส่ความเห็น »

การเลี้ยงปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรด

สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยมมี 2 ลักษณะคือ

1. การเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในบ่อดิน

อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อ ที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อ จะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว

ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจาก โรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร

การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง เช่น ที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี

2. การเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในกระชัง

การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว

การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาท

 

 

กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ

 

โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงพันธุ์ปลาแรด ประกอบด้วย

1. โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี .ซี

2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลิน หรือวัสคุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง

3. ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถ รับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฎิบัติงานบนกระชัง

สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้

– กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี

– กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี

– กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี

บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดี น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจาก โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา

 

กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชังมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี

กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง

ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน

ข้อจำกัดของการเลี้ยงพันธุ์ปลาแรดในกระชัง

1. สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำ ต้องดีมีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหา โรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง สถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือ คลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน

2. ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็ก หรือเท่ากับขนาดของช่องกระชัง ปลาจะลอดหนีจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไป ติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้

3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อมๆ กันในทันทีที่ให้อาหาร เพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง

4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยงยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

อัตราการปล่อยพันธุ์ปลาแรด

จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อ ขนาด 400 ตารางเมตร ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาท ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น

อาหารพันธุ์ปลาแรด

ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบ กินอาหารพวกสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศ ส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้ให้ อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราว ก็ให้ผลการเจริญ เติบโตดี ปลาแรดชอบมาก เหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย

อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25 %

การเจริญเติบโตของพันธุ์ปลาแรด

ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.

ลูกปลาแรดอายุ 6 เดือน จะมีความยาว 10-15 ซม.

ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

ใส่ความเห็น »

ปลาแรด

ปลาแรด

 

ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม

ปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหรือเป็นอาหาร

ซึ่งตลาดผู้บริโภคต้องการน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

แหล่งกำเนิดพันธุ์ปลาแรด

ปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า “ปลาเม่น” มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลาง พบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลาย มีอยู่เฉพาะบริเวณ แถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย การเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์

อุปนิสัยพันธุ์ปลาแรด

ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ เป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่าย โดยวิธีการ ให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็ก มักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทน เมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมี ชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

รูปร่างพันธุ์ปลาแรด

ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมี น้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ แข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตาม เส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็น สีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

 ลักษณะเพศ

ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ คือ ตัวผู้จะมีนอ (Tubercle) ที่หัวของมันโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ปัดหัวโต ส่วนตัวเมียจะมีโหนกไม่สูงและที่ใต้ฐานของครีบอกตัวเมีย จะมีจุดสีดำ แต่ตัวผู้จะมีแต้มสีขาว ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ปลาตัวผู้จะโตกว่าปลาตัวเมีย ปลาแรดจะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2-3 ปี น้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม แม่ปลาขนาด 3 กิโลกรัมจะมีไข่ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง/ปี

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

ใส่ความเห็น »